เทศบาลเมืองสองพี่น้อง ได้ถือกำเนิดขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลสองพี่น้องโดยยกฐานะจากสุขาภิบาล เป็นเทศบาลตำบลสองพี่น้อง เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ มีพื้นที่ ๒.๔ ตารางกิโลเมตร ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีการขยายเขตเทศบาลโดยพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลสองพี่น้อง ปัจจุบันมีพื้นที่ ๑๐.๔ ตารางกิโลเมตร (๖,๕๐๐ ไร่) ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลสองพี่น้อง เป็นเทศบาลเมืองสองพี่น้อง โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เทศบาลเมืองสองพี่น้องตั้งอยู่ในเขตตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ ๔๒ กิโลเมตร
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับเขตตำบลบางพลับ และตำบลศรีสำราญ อำเภอสองพี่น้อง
จังหวัดสุพรรณบุรี
- ทิศใต้ ติดกับเขตตำบลเนินพระปรางค์ และตำบลบางเลน อำเภอสองพี่น้อง
จังหวัดสุพรรณบุรี
- ทิศตะวันออก ติดกับเขตตำบลต้นตาล และตำบลบางพลับ อำเภอสองพี่น้อง
จังหวัดสุพรรณบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตำบลเนินพระปรางค์ และตำบลศรีสำราญ
อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
ตำบลสองพี่น้องได้รับการจัดตั้งให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลพร้อมกับเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสองแห่งแรกในจังหวัดสุพรรณบุรีโดยมีอายุยืนยาวจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๗๗ ปี มีนายกเทศมนตรีตั้งแต่เริ่มจัดตั้งจนถึงปัจจุบัน จำนวน ๑๐ ท่าน ดังนี้
ลำดับที่
|
ชื่อ – นามสกุล
|
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
|
๑.
|
นายนิยม ทวิพัฒน์
|
พ.ศ.๒๔๗๘ – ๒๔๘๓
|
๒.
|
นายจำ อุดมผล
|
พ.ศ.๒๔๘๓ – ๒๔๘๗
|
๓.
|
นายเฉลียว สาตนุรักษ์
|
พ.ศ.๒๔๘๗ – ๒๔๙๓
|
๔.
|
นายทองหยด จิตตวีระ
|
พ.ศ.๒๔๙๓ – ๒๕๑๗
|
๕.
|
นายยศ สุรพลชัย
|
พ.ศ.๒๕๑๗ – ๒๕๒๓
|
๖.
|
นายชัยวัตร ฉันทดิลก
|
พ.ศ.๒๕๒๓ – ๒๕๒๙
|
๗.
|
นายประเสริฐ เปลี่ยนรังษี
|
๔ – ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๙
|
๘.
|
นายธงชัย สามิตสมบัติ
|
๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๙ – ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๖
|
๙.
|
นางไพรัตน์ ทองคำใส
|
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ – ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑
|
๑๐.
|
นายวิโรจน์ คณูวัฒนา
|
๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ – ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕
|
|
นายวิโรจน์ คณูวัฒนา
|
๙ กันยายน ๒๕๕๕ จนถึงปัจจุบัน
|
เทศบาลเมืองสองพี่น้องมีปลัดเทศบาลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของข้าราชการประจำ จำนวน ๒๓ ท่าน คือ
๑. นายอิ่ม นวลปลั่ง
๒. นายเยื้อง สุรพลชัย
๓. นายวิบูลย์ วงศ์สุวัชร
๔. นายกฤษณ์ บุญมานุช
๕. นายจินดา ณีรัตนพันธุ์
๖. นายเสรี พงษ์ธานี
๗. นายชวลิต สมานมิตร
๘. นายไพศาล อนันต์ชาตรี
๙. นายสุธน พรรณธรรม
๑๐. นายวิสุทธิ์ อธิปัญญา
๑๑. นายเที่ยง พุทธิสวัสดิ์
๑๒. นายบุญส่ง ไตรรัตนานารถ
๑๓. นายชาญ กิตติวัฒน์
๑๔. นายชลอ ใจผ่องใส
๑๕. นางบุญสนอง สุขชาญชัย
๑๖. นายถวิล ชาญเทศน์
๑๗. นางประภาพร สุรสินธุ์สาคร
๑๘. นายอุดม ณีรัตนพันธุ์
๑๙. นางสาวพรรณี จับใจ
๒๐. นางสาววรรณา แสงทอง
๒๑. นายวิสุทธิ์ เจริญศรี
๒๒. นางสุมาลัย ประภัสสรสินธุ์
๒๓. นางสาววรางคณา ใจชื่น
เทศบาลเมืองสองพี่น้องตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสองพี่น้องประมาณ
๒ กิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๙ ชุมชน ดังนี้
- ชุมชนอำเภอเก่า - ชุมชนโพธิ์อ้น
- ชุมชนนายจาง - ชุมชนศรีสำราญ
- ชุมชนสองพี่น้อง - ชุมชนร่วมพัฒนา
- ชมชนสะพานโค้ง - ชุมชนรางโตนด
- ชุมชนบางใหญ่ - ชุมชนคลองมะดัน
- ชุมชนไผ่หมู่ - ชุมชนบางลี่
- ชุมชนตลาดบางลี่ - ชุมชนบางลี่เล็ก
- ชุมชนปฐมตวงทอง - ชุมชนประชาร่วมใจ
- ชุมชนลาดเข็มทอง - ชุมชนรางภาษี
- ชุมชนหน้าอำเภอ
ประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลสองพี่น้อง โดยเฉพาะในตลาดบางลี่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ และมีบางส่วนที่เป็นคนไทยแท้ วิถีชีวิตของชาวสองพี่น้องจึงเป็นวัฒนธรรมที่ผสมกลมกลืนระหว่างไทยและจีนจนไม่สามารถแยกออกได้ ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาไทยกลาง และภาษาจีนแต้จิ๋ว นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็น ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และศาสนาอิสลาม ประชาชนยึดมั่นในวัฒนธรรมประเพณีแบบไทยภาคกลางที่ผสมผสานวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมแบบจีน
|