๑. นโยบายด้านการเมืองและกา่รบริหาร
๑.๑ ส่งเสริมและจัดกิจกรรมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
๑.๒ สนับสนุนให้มีเวทีประชาคมและจัดกิจกรรมพบปะประชาชน รับฟังข้อเสนอแนะและนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน
๑.๓ ส่งเสริมและสนับสนุนการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น
๑.๔ บริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยยึดหลักการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
๑.๕ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารงานของเทศบาลในรูปแบบต่างๆ
๑.๖ พัฒนาระบบการบริหารและเพิ่มศักยภาพ ทักษะ ขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล ตลอดจนการบริการประชาชนให้่มีความพร้อมและทันสมัย สร้างความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจต่อประชาชน
๑.๗ พัฒนาศักยภาพของทรัพยากรการบริหารทุกประเภทและจัดระบบศูนย์รวมการให้บริการและลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของประชาชน
๑.๘ สร้างกลไกหรือช่องทางให้ประชาชนเข้าถึง รับรู้ข้อมูลข่าวสารของทางราชการได้สะดวกยิ่งขี้นและจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ข่าวสาร ผลงานและกิจกรรมของเทศบาล ตลอดจนหอกระจายข่าวของเทศบาลและวิทยุชุมชน
๒. นโยบายด้านการศึกษา
๒.๑ ยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยสู่ความเป็นเลิศ และขยายการจัีดการศึกษาปฐมวัยให้อยู่ในศูนย์กลางของชุมชน
๒.๒ ขยายโอกาสการศึกษาภาคบังคับ (ป.๑-ม.๓) ให้ครอบคลุมทั่วทุกชุมชน
๒.๓ ส่งเสริมการจัดการศึุกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลให้ได้มาตรฐาน เตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดยส่งเสริมให้โรงเรียนมีการจัดหลักสูตรอาเซียนศึกษา จัดให้มีการสอนเสริมภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารให้แก่นักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล ได้แก่ ภาษาอังกฤษ และภาษาีจีน
๒.๔ จัดหาเครื่องมืิอเครื่องใช้ สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย มีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการให้กับโรงเรียนสังกัดเทศบาลให้เพียงพอกับความต้องการ
๒.๕ ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้และเพิ่มพูนทักษะความสามารถของตนเองให้มีความรอบรู้ในทางวิชาการและสามารถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
๒.๖ ปรับปรุงอาคารสถานที่ให้เหมาะสมและเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
๒.๗ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่่อสร้างความตระหนักและการรับรู้ในเรื่องของอาเซียนแก่กลุ่มเยาวชนและประชาชน
๒.๘ ส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้สำหรับคนในชุมชน
๒.๙ ร่วมมือกับศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยในการจัดการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
๓.นโยบายด้านการส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
๓.๑ ส่งเสริมและสนับสนุึนให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้ออกกำลังกาย และสนับสนุนอุปกรณ์การออกกำลังกายและการกีฬาตามความต้องการของชุมชน
๓.๒ ปรับปรุงภูมิทัศน์สนามเด็กเล่นและจัดหาซ่อมแซมอุปกรณ์ของเด็กเล่นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเพียงพอต่อความต้องการของเด็กและเยาวชน
๓.๓ จัดหลักสูตรและวิทยากรฝึกสอนกีฬาให้กับเด็กและเยาวชนในช่วงปิดภาคเรียน
๓.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน กีฬาประชาชน และกีฬาระหว่างภาครัฐกับเอกชน
๓.๕ ส่งเสริมและพัฒนาการเล่นกีฬาและนันทนาการ โดยการจัดตั้งชมรมกีฬาประเภทต่างๆ ภายในเขตเทศบาล
๔. นโยบายด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
๔.๑ ปรับปรุงตลาดสดเทศบาลในที่เดิม เพิ่มพื้นที่ขายสินค้า ดูแลความสะอาด ปลอดภัย ราคายุติธรรม จัดระบบการจราจร ที่จอดรถ และยกระดับให้เป็นตลาดมาตรฐาน
๔.๒ ปรับปรุงระบบกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้มีประสิทธิภาพครบวงจร
๔.๓ ส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือนและจัดให้มีภาชนะรองรับขยะและสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาลอย่างเพียงพอในทุกชุมชน ตลอดจนรักษาความสะอาดของถนน ทางเดินเท้าและที่สาธารณะ
๔.๔ ส่งเสริม สนับสนุน รณรงค์และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดของบ้านเมือง
๔.๕ จัดให้มีการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและพาหะนำโรคต่างๆ
๔.๖ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของศูนย์สุขภาพชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน (อสม.)ในการให้บริการแก่ประชาชนในทุกชุมชน
๔.๗ จัดหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการตรวจสุขภาพแก่ประชาชนในเขตเทศบาล
๔.๘ เสริมสร้างระบบสุขภาพชุมชนและการสาธา่รณสุข ให้ประชาชนได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
๔.๙ ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้ ข่าวสารเรื่องสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนผ่านทางหอกระจายข่าว วารสาร เทศบาล และสื่อสารมวลชนประเภทต่างๆ
๔.๑๐ ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีวินัยในการบริโภคเพื่อลดสาเหตุการเกิดโรคต่างๆ
๔.๑๑ ส่งเสริมสนับสนุนมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ประชาชนเข้าใจถึงพิษภัยและห่างไกลยาเสพติด
๕. นโยบายด้านสังคมสงเคราะห์
๕.๑ จัดสวัสดิการและให้ชีพการช่วยเหลือที่จำเป็นตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้แก่ผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ในชุมชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยเน้นกระบวนการ พึ่งตนเองและชุมชนมีส่วนร่วม
๕.๒ แจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยคนพิการตามหลักเกณฑ์และนโยบายของรัฐบาลอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม
๕.๓ ส่งเสริมและจัดระบบให้เกิดอาชีพเสริมที่เหมาะสมกับคนในชุมชนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้สามารถสร้างรายได้ที่ต่อเนื่องแก่กลุ่มอาชีพ
๕.๔ ส่งเสริมให้กลุ่มองค์กรต่างๆ จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และพัฒนาอาชีพและรายไ้ด้ของชุมชน
๖. นโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
๖.๑ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองสองพี่น้องอย่างยั่งยืนต่อไป
๖.๒ พัฒนา ปรับปรุง และสานต่องานด้านโครงสร้างพื้นฐาน โครงการต่างๆและพัฒนางานบริกาสาธารณประโยชน์ เช่น ถนน ซอย ทางเดินเท้า ท่อระบายน้ำ ทั่วทุกพื้นที่ในเขตเทศบาลให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์แข็งแรงใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๖.๓ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยการปรับปรุงถนน ระบบระบายน้ำ ท่อ คู คลอง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างถาวรและยั่งยืน
๖.๔ ปรับปรุงระบบการให้บริการน้ำประปาในพื้นที่ให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
๖.๕ จัดให้มีและดูแลไฟฟ้า แสงสว่างตามถนน และจุดเสี่ยงที่มีความมืดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
๖.๖ ปรัปปรุงภูมิทัศน์ภายในชุมชนให้ร่มรื่น สะอาด สวยงาม
๖.๗ ปรับปรุงสวนสุขภาพให้เป็นศูนย์กลางของการออกกำลังกายและที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในเขตเทศบาล โดยเน้นความปลอดภัียเป็นหลัก
๖.๘ สนับสนุนและผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนริมคลองสองพี่น้องให้ครอบคลุมทั่วเขตเทศบาลเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างถาวร
๗.นโยบายด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
๗.๑ ร่วมมือกับวัดและองค์กรทุกศาสนาในการจัดกิจกรรมทางศาสนา โดยมุ่งเน้นให้วัดและองค์กรทางศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน
๗.๒ ส่งเสริมและสนัลสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับศาสนศึกษา การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและการพัฒนาศาสนสถาน
๗.๓ ดำเนินการจัดให้มีการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้คงความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองสองพี่น้องไว้ในรูปแบบของการ จัดงานประเพณ๊ต่างๆ ได้แก่ งานประเพณีลอยกระทง งานประเพณีสงกรานต์ และงานเทศกาลอาหารดีตลาดบางลี่เมืองสองฤดู
๗.๔ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลและชุมชนในเขตเทศบา่ลให้แพร่หลาย
๘. นโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
๘.๑ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การป้องกันและระงับอัคคีภัย โดยจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนอุปกรณ์ดับเพลิง ติดตั้งในจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างทั่วถึง
๘.๒ จัดอบรมสัมมนาฝึกทบทวนเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ให้สามารถปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนได้อย่างเต็มศักยภาพ
๘.๓ เตรียมบุคลากร รถยนต์ดับเพลิง และอุปกรณ์ให้เพียงพอและมีความพร้อมตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อปฏิบััติการในสถานการณ์ฉุกเฉิน อุบัติภัย ภัยธรรมชาติ
๘.๔ เสริมสร้างศักยภาพของกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV ให้มีประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด
๘.๕ ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อเป็นเครือข่ายในการร่วมกันดูแลป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน
|